ชนโรง หรือผึ้งจิ๋ว สุดยอดแมลงผสมเกสร

ชนโรง หรือผึ้งจิ๋ว สุดยอดแมลงผสมเกสร

ชันโรง คืออะไร

     ชันโรง (Stingless Bees) เป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กใน พบได้ในทุกภูมิภาคของไทย ในไทยมีทั้งหมด 34 สายพันธุ์ ชื่อชันโรง (ชัน-นะ-โรง) หมายถึงโรงงานผลิตชัน เพราะผลิตชันได้ค่อนข้างเยอะ เมื่อก่อนเราเอาชันมาใช้อุดภาชนะ อุดฐานพระ ทำยาแผนโบราณ แต่ยุคนี้เราพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรค สร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเชื้อราและจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหรือแผลอักเสบในช่องปากและคอ จึงนำมาใช้เป็นยารักษาแผลอักเสบในปาก สบู่ ยาสีฟัน สเปรย์ช่องปาก ลูกอม และสารสกัดผสมน้ำดื่ม
     ขนาดของชันโรงเล็กกว่าผึ้งมาก พูดให้เห็นภาพก็คือตัวเท่าแมลงหวี่ มีขา 3 คู่ คู่ที่สามซึ่งอยู่ด้านหลังยาวที่สุด ทำหน้าที่ขนเกสรเข้ารัง

คุณสมบัติเด่น ของชันโรง

  • ไม่มีเหล็กใน จึงไม่ต่อย ป้องกันตัวเองด้วยการกัด
  • เนื่องจากตัวเล็กกว่าผึ้ง ระยะบินหากินจึงใกล้กว่าผึ้ง แค่ 300 เมตรจากรัง จึงควบคุมให้ชันโรงผสมเกสรต้นไม้ที่ต้องการได้ง่ายกว่าผึ้ง
  • ชันโรงตอมดอกไม้ทุกชนิด ไม่เลือกตอมเฉพาะดอกไม้ที่ชอบ ถึงแม้ว่าดอกนั้นจะมีแมลงตัวอื่นตอมแล้ว ชันโรงก็ตอมซ้ำ ไม่เหมือนผึ้ง และด้วยระยะหากินที่ใกล้ ทำให้ชันโรงมีโอกาสผสมเกสรดอกเดิมซ้ำหลายรอบ จึงมีประสิทธิภาพในการช่วยผสมเกสรมากกว่าผึ้ง
  • ชันโรงเน้นเก็บเกสร 80 เปอร์เซ็นต์ เก็บน้ำต้อย (น้ำหวานดอกไม้) 20 เปอร์เซ็นต์ จึงช่วยแพร่กระจายเกสรดอกไม้ได้ดีมาก
  • เลี้ยงง่าย เคลื่อนย้ายรังได้ง่าย และแทบจะไม่ทิ้งรัง จะอยู่รังเดิมไปเรื่อยๆ
  • น้ำผึ้งชันโรงมีรสหวานอมเปรี้ยว มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และน้ำตาลกลูโคสสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป จึงมีราคาสูงกว่าถึงสิบเท่า นิยมนำไปทำยาและเครื่องสำอาง

ชนิดของชันโรง

     ประเทศไทยมีชันโรงทั้งหมด 34 ชนิด บางชนิดมีถิ่นที่อยู่อาศัยจำกัด ถ้าย้ายไปเลี้ยงในพื้นที่อื่นอาจตายได้ ก่อนเลี้ยงจึงต้องศึกษาให้ดี 

วรรณะของชันโรง

     ชันโรงก็เหมือนผึ้ง คืออยู่รวมกันแบบรวมกลุ่มจำนวนมากภายในรัง สมาชิกในรังมี 3 วรรณะ ทั้งสามวรรณะเกิดจากนางพญาเหมือนกัน แต่ละวรรณะมีหน้าที่ต่างกันไป
     1. วรรณะงาน : ชันโรงที่เราเห็นเกือบทั้งหมดก็คือวรรณะงาน เป็นเพศเมีย ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างในรัง ถ้าเป็นชันโรงระดับเยาวชน จะมีหน้าที่ทำความสะอาดรัง ดูแลรัง สร้างถ้วยตัวอ่อน ถ้วยน้ำผึ้ง
     2. วรรณะนางพญา : แต่ละรังจะมีนางพญา 1 – 2 ตัว ตัวใหญ่กว่าวรรณะงานอย่างเห็นได้ชัด พอเกิดมาจะเรียกว่า Virgin Queen พอโตเต็มที่จะปล่อยฟีโรโมนเรียกตัวผู้จากรังอื่นมาหาที่หน้ารัง ถึงเวลาก็จะออกไปผสมพันธุ์กันนอกรัง
     3. วรรณะตัวผู้ : มีจำนวนไม่มาก มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับนางพญาของรังอื่น พอโตเต็มวัยก็จะบินไปจีบนางพญารังอื่น มันมักจะหลอกผึ้งงานที่เฝ้าอยู่หน้ารังอื่นว่าเป็นพวกเดียวกัน ด้วยการเอาเกสรใส่ขาหลังมาด้วย เหมือนว่าเป็นสมาชิกรังเดียวกันที่เพิ่งไปเก็บเกสรมา จะได้เข้าไปในรังได้ แต่ด้วยกลิ่นของแต่ละรังที่ต่างกัน มันก็จะเข้าไปไม่ได้อยู่ดี

การเจริญเติบโตของชันโรง

  • ระยะไข่ : ชันโรงงานจะทำถ้วยไข่ที่ใส่อาหารเหลวรอไว้ เมื่อนางพญามาวางไข่ ก็จะปิดถ้วยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ในไข่ ถ้วยของตัวอ่อนจะมีสีเข้มที่สุด ยิ่งโตยิ่งสีจางลง
  • ระยะหนอน : กลายเป็นตัวหนอนแล้ว แต่ยังคงอยู่ในถ้วยอาหาร ถ้วยจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นถึงสีครีม
  • ระยะดักแด้ : ยังอยู่ในถ้วยตัวอ่อนเหมือนเดิม แต่มีสีอ่อนลงมาก
  • ระยะตัวเต็มวัย : ตัวอ่อนของชันโรงจะกัดถ้วยตัวอ่อนออกมา แล้วใช้ชีวิตเป็นชันโรงอย่างที่เราเห็น มีอายุในช่วงนี้ประมาณ 35 วัน

รังชันโรง อยู่ที่ไหนในธรรมชาติ

     1. ในโพรงธรรมชาติ : ชันโรงที่เราเห็นเกือบทั้งหมดก็คือวรรณะงาน เป็นเพศเมีย ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างในรัง ถ้าเป็นชันโรงระดับเยาวชน จะมีหน้าที่ทำความสะอาดรัง ดูแลรัง สร้างถ้วยตัวอ่อน ถ้วยน้ำผึ้ง
     2. ในโพรงเทียมหรือสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น : กลุ่มนี้พวกเราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุด บ้านของหลายคนก็น่าจะมีชันโรงอยู่ เช่น ตามโพรง ที่ว่าง หรือรอยแตกของสิ่งก่อสร้าง เช่น กำแพง เสาปูน กำแพงอิฐ เสาไม้ ท่อน้ำ โอ่ง และกล่องลังต่างๆ

ที่มา: readthecloud.co/stingless-bees
 3143
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์